วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555


หมื่นด้งนคร
แม่ทัพใหญ่คู่พระบารมี พระเจ้าติโลกราช


        หมื่นด้งนคร  แม่ทัพใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์ที่ 9 ของ เชียงใหม่ ได้รับโปรดเกล้าให้ครองเมืองสำคัญหลายเมือง เช่น เมืองละกอน เมืองเชลียง และ เมืองเชียงชื่น
        หมื่นด้งนคร เจ้าชายผู้อาภัพ ในคราบชาวป่าชาวดอย  เจ้าชายผู้ซื่อสัตย์ต่อราชบัลลังค์ แม้ต้องถวายด้วยชีวิต ก็ยอม
        หมื่นด้งนคร เป็นชื่อที่ แม่ทัพนายกองทัพศรีอยุธยา ได้ยินชื่อเป็นครั่นคร้ามเพราะไม่เคยรบชนะทัพของหมื่นด้งนครแม้แต่เพียงครั้งเดียว หมื่นด้งนครเป็นขุนศึกถึงสามรัชกาล คือ
รัชกาล พญาแสนเมืองมา (รุ่นบิดา)
รัชกาล พญาสามฝั่งแกน และ (รุ่นเดียวกัน)
รัชกาล พระเจ้าติโลกราช(รุ่นลูก)


จวบจนสิ้นหมื่นด้งนครทัพศรีอยุธยาจึงรบชนะและยึดเมืองเชลียงคืนได้
       
ตอนที่ 1 ; กำเนิดเด็กชายด้ง

หลักฐานจากจารึกใบลานวัดพระสิงห์กล่าวถึงหมื่นด้งนครไว้ว่า ;........

        พ.ศ.1932 เดือน 10 เหนือ ราว 624 มาแล้ว พญาแสนเมืองมา ผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองเชียงใหม่ ได้เสด็จพระพาสป่าทางทิศใต้ของเมือง เรียกว่า "ป่าแม่วาง"เพื่อล่าสัตว์
        ขบวนเสด็จมาถึง "ป่าแม่วาง" ข้าทาสบริภาษก็ตั้งพลับพลาเพื่อเป็นที่ประทับระหว่างล่าสัตว์ ย่างเข้าวันที่ 6 ก็เกิดฟ้าผ่าไฟไหม้พลับพลาที่ประทับ "แสนหลวง" อำมาตย์คู่ใจ จึงกราบทูลเชิญให้ไปประทับแรมที่บ้านญาติชื่อ "หนานเมือง"
        ฝ่ายหนานเมืองเมื่อทราบว่าพญาผู้เป็นเจ้ามาเยือนถึงหมู่บ้าน ก็ยินดีปรีดายิ่งนัก จัดการหุงหาอาหาร พร้อมจัดที่ประทับให้พระผู้เป็นเจ้า นำลูกสาว นามว่า "แม่นางศรีวรรณ" เข้าถวายงาน ตลอดทั้งคืน.....
        กาลเวลาผ่านไป พระผู้เป็นเจ้าเสด็จกลับศรีนครพิงเชียงใหม่ไปแล้ว ใน พ.ศ.1933 จุลศักราช 752 เดือน 6 เหนือ แม่นางศรีวรรณ ก็กำเนิดบุตรเป็นชาย ตั้งชื่อว่า "อ้าย" แสนหลวงจึงกราบบังคับทูลให้พญาแสนเมืองมาทราบ (เกิดก่อนพระเจ้าติโลกราช  18 ปี)

        พออายุได้ขวบเศษเด็ก "อ้าย" มีอุปนิสัยชอบนอนในกระด้ง จึงเรียกชื่อว่า "ด้ง"
        อายุ 8 ขวบ นางศรีวรรณ ผู้เป็นแม่ก็ตาย
        อายุ 12 ขวบ หนานเมือง ผู้เป็นตาก็ตาย


ตอนที่ 2 เข้าวังหลวง



          ใน พ.ศ.1947  หนุ่มน้อย "ด้ง" อายุได้ 14 ปี แสนหลวง จึงนำหนุ่ม "ด้ง"ไปถวายตัวกับ พระนางสุนทรราชเทวี พระราชมารดาของพญาแสนเมืองมา ทรงรับไว้ในฐานะหลานหลวง


           "หนุ่มด้ง" ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในราชสำนัก จนอายุได้ 16 ปี ก็เล่าเรียนศิลปวิทยาการเจนจบทุกกระบวนวิชาของราชสำนักล้านนา ทั้ง มังรายศาสตร์ ธรรมนูญศาสตร์  คชศาสตร์เกี่ยวกับการคล้องช้าง บังคับช้างศึก วิชาพิชัยสงคราม การจัดทัพ



           หลังจากนั้นแสนหลวง จึงนำ "หนุ่มด้ง" ไปฝึกการต่อสู้ การใช้อาวุธ กับ พญาสามล้าน ระหว่างฝึกฝนวิชาต่อสู้การใช้อาวุธ หนุ่มด้ง ได้ชอบพอกับ "แม่นางศรีเมือง" บุตรสาวของพญาสามล้าน



          โดยที่ "แม่นางศรีเมือง" เป็นหญิงที่เติบใหญ่มาในสำนักดาบ ได้รับการฝึกฝนการต่อสู้การใช้การอาวุธมาแต่ยังเล็ก จึงจัดได้ว่าเป็นสตรีล้านนาผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญเรื่องการต่อสู้ป้องกันตัวและการใช้อาวุธเป็นอย่างดี     



          ด้วยความที่เป็นเด็กหนุ่มที่เฉลียวฉลาดหน่วยก้านฉายแววมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเป็นหน่อพญาผู้เป็นเจ้า พญาสามล้าน จึงยก "แม่นางศรีเมือง" ให้เป็นศรีภรรยา  หลังแต่งงาน"หนุ่มด้ง"รับราชการในราชสำนักและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว



          พ.ศ.1945 พญาใสลือไท แห่งเมืองสุโขทัยยกทัพมาตีเวียงละกอน แต่ไม่สำเร็จจึงยกทัพกลับ


         พ.ศ.1952 พญาเวียงละกอน(ลำปาง) ถึงแก่พิราลัย พญาแสนเมืองมา จึงโปรดให้ หนุ่มด้ง ได้บรรดาศักดิ๋เป็น  "หมื่นด้งนคร" และให้ไปครองเวียงละกอน ขณะนั้น "หมื่นด้งนคร" มีอายุเพียง 19 ปี


ตอนที่ 3 ; ศึกเมืองสุโขทัย

            หมื่นด้งนคร และ แม่นางศรีเมือง พญาแห่งเวียงละกอน ปกครองข้าราษฎร์ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ท้องพระคลังมีทรัพย์สินเสบียงอาหารบริบูรณ์

          ต่อมาพญาใสลือไท กษัตริย์อยุธยา(พระมหาธรรมราชาที่ 3 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1943 - พ.ศ.1962 เมืองสุโขทัยเสียเอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลนี้) ทรงใช้อุบายมีพระราชสาสน์ถึง พญาแสนเมืองมา กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พระราชบิดาของหมื่นด้งนคร ให้ยกทัพไปช่วยรบกับทัพกรุงศรีอยุธยา หวังให้พญาแสนเมืองมาหลงกลอุบายแล้วล้อมจับตัว เพื่อบังคับให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชสุโขทัย
          พญาแสนเมืองมา หลงเชื่อยกทัพไปช่วยเมืองสุโขทัย เมื่อไปถึงจึงถูกซุ่มตีทัพแตกหนีกลับมาทางเวียงละกอน ทัพสุโขทัยติดตามมาหวังจับตัวพญาแสนเมืองมาให้ได้ ม้าเร็วแจ้งข่าวให้หมื่นด้งนครทราบ จึงนำทัพไปช่วย พญาแสนเมืองมาไว้ได้ทัน

          มีหลักฐานปรากฎว่าระหว่างแม่นางศรีเมืองกำลังตั้งครรภ์ หมื่นด้งนครไปราชการที่เชียงใหม่ ได้มีศึกเจ้าเมืองใต้มาประชิดเมือง(เข้าใจว่าเป็นเมืองสุโขทัย) แม่นางศรีเมืองจึงแต่งเป็นชายนำทัพออกรบ หมื่นด้งนครทราบเรื่องจึงยกทัพมาช่วยตีข้าศึกแตกพ่ายไป สถานที่รบได้สร้างวัดไว้ชื่อ "วัดพระธาตุจอมปิง" ส่วนบุตรในท้องเมื่อเกิดมาจึงให้ชื่อว่า "หาญแต่ท้อง"
         

ตอนที่
4
 ; ศึกทัพสุโขทัย&พะเยา ล้อมเมืองเชียงใหม่


พ.ศ.1954 พญาแสนเมืองมา สวรรคต พระเจ้าสามฝั่งแกน ขึ้นครองราชย์สมบัติขณะมีพระชนม์เพียง 13 พรรษา ท้าวยี่กุมกามเจ้าเมืองพะเยาซึ่งเป็นพระเชษฐา ไม่ยอมรับ ไปขอพึ่งพญาใสลือไท แห่งกรุงสุโขทัย ให้ยกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ปรากฎเรื่องราวของหมื่นด้งนคร แต่ปรากฎนักรบในหน้าประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ อีกหลายท่าน อาทิ



หาญยอดใจเพชร นักรบเมืองเชียงใหม่ผู้ชำนาญเพลงดาบเขน เป็นตัวแทนชาวเชียงใหม่ เดิมพันรบตัวต่อตัวกับนักดาบสุโขทัย ใครชนะถือว่าทัพฝ่ายนั้นชนะด้วย ปรากฎว่า "หาญยอดใจเพชร" ชนะพญาใสลือไท จึงต้องยกทัพกลับ


เพ็ดยศ หนุ่มชาวเชียงใหม่ ที่รวบรวมคนหนุ่มราว 200 คน เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ไล่ล่าตัดหัวทหารสุโขทัยที่ออกมาหาหญ้าให้ช้างม้า ถวายพญาสามฝั่งแกนทุกวัน จึงได้ตำแหน่ง "พญาเด็กชาย" พร้อมกับตำแหน่งอื่นๆที่ตั้งขึ้นใหม่สมัยนั้น คือ 1)พญาเด็กชาย 2) พญาแสนหลวง 3)พญาสามล้าน 4) พญาจ่าบ้าน


ตอนที่ 5
 ; พระเจ้าติโลกราช ปราบดาภิเษก


หลังเสร็จศึกสุโขทัย&พะเยา เมืองเชียงใหม่ก็มิได้สงบ มีศึกติดพันกับจีนมณฑลยูนาน เรื่อยมาหลายปี


พ.ศ.1977 ฟ้าผ่าเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย ปรากฏพระแก้วมรกต


พ.ศ.1979 พญาสามฝั่งแกน อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานเมืองเชียงใหม่ แต่ช้างทรง ฝืนบังคับไม่มาเมืองเชี่ยงใหม่ จึงโปรดให้ประดิษฐาน ณ เวียงละกอน ซี่งหมื่นดังนครรั้งเมืองอยู่ ขณะนั้นอายุได้ 46 ปี

พ.ศ.1981 เจ้าสามพระยา แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้พระราเมศวร(พระบรมไตรโลกนารถ) ไปครองเมืองพิษณุโลกเพื่อรวมสุโขทัยและอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกัน

          ฝ่ายเมืองเชียงใหม่ การเมืองภายใน ก็ไม่สงบเกิดการแตกแยก ในหมู่ขุนนางอำมาตย์ แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ยกเจ้านายของตน คือเจ้าชายทั้งสิบพระองค์เป็นหัวหน้าก๊ก

พ.ศ.1985 "สามเด็กย้อย" ขุนนางผู้หนึ่ง ยก "ท้าวลก" เจ้าชายองค์ที่ 6 ปราบดาภิเษกเป็น "พระเจ้าติโลกราช"   เนรเทศพญาสามฝั่งแกนกษัตริย์องค์เดิม ไปเมืองสาด(พม่า) หมื่นด้งนคร มีศักดิ์เป็นพระเจ้าอา โปรดให้ครองเมืองละกอนดังเดิม

เมืองสาดในปัจจุบัน
ที่มาของภาพ ; 

          ต่อมา "สามเด็กย้อย" คิดกบฏ จึงโปรดให้ "หมื่นด้งนคร" ยกทัพจากเมืองละกอน มาจับตัว"สามเด็กย้อย" ลดบรรดาศักดิ์จาก "แสนขาน" เป็น "หมื่นทวน" แล้วเนรเทศให้ไปครองเมืองเชียงแสน  

อ่านเรื่องพระเจ้าติโลกราชเพิ่มเติม ; 
http://kankondee.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

        



ตอนที่ 6 ; ศึกอยุธยา(เจ้าสามพระยา)

1 ความคิดเห็น:

  1. "ลพบุรี" เคยแต่งนวนิยายแต่ปัจจุบันหาอ่านไม่ได้แล้ว....ถ้าหากผู้ใดเก็บสะสมอยู่ก็จะขอแบ่งปันอ่านด้วยครับหรือว่าจะขายต่อด็ยินดีครับ

    ตอบลบ