ล่าสุด(19 ก.พ.2555)
นายกฯอิสราเอลซึ่งอยู่ระหว่างเยือนญี่ปุ่น
เรียกร้องให้ประชาคมโลกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
นักวิเคราะห์ข่าวเชื่อว่าปฏิบัติการของอิหร่านครั้งมีเป็นตัวเร่งให้อิสราเอลตัดสินใจโจมตีอิหร่านง่ายและไวขึ้น หลังมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดโรงงานนิวเคลียร์อิหร่านในฤดูใบไม้ผลิปีนี้(ข่าวหลุดออกมาเพราะพบว่ามีการซ้อมของฝูงบินที่จะได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการ โดยชุดแรกเป็นการทิ้งระเบิดเพื่อเปิดหลุมซึ่งโรงงานดังกล่าวซ่อนอยู่ในอุโมงค์ใต้ดิน และชุดที่สองจะเป็นการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายโรงงาน) ซึ่งไทยเราคงต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่จะถีบตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันอิหร่านได้ชี้แจงว่าชาวอิหร่านที่ปฏิบัติการเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน และกล่าวว่าเป็นการวางแผนของอิสราเอลเองเพื่อให้อิหร่านได้รับความเสียหายในสายตาประชมคมโลก และรัฐบาลอิหร่านก็ได้ส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบสุเอซเข้าสู่ทะเลเมอดิเตอร์ริเนียนซึ่งติดกับประเทศอิสราเอลเพื่อแสดงพลังทางทหารแล้ว
เรือพิฆาต Alvand ที่อิหร่านส่งไปกดดันอิสราเอล ซึ้่งวิเคราะห์กันว่ามีจุดประสงค์เพื่อคอยตรวจจับความเคลื่อนไหวของฝูงบินอิสราเอลที่อาจขึ้นบินไปโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ในอิหร่านด้วย
ที่มาของภาพ ; http://en.wikipedia.org/wiki/Alvand_class_frigate
20 ก.พ.2555 อิหร่านประกาศทำการซ้อมรบ 4 วัน เพื่อซักซ้อมการป้องกันภัยทางอากาศบริเวณที่ตั้งโรงงานนิวเคลียร์ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิหร่านพร้อมตั้งรับการโจมตีทางอากาศอย่างเต็มที่ และอิหร่านประกาศจะยกเลิกการส่งน้ำมันไปให้ อังกฤษ และ ฝรั่งเศล เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรจากกล่มประเทศยุโรป โดยจะส่งน้ำมันขายให้กับลูกค้ารายใหม่แทน ซึ่งคาดหมายกันว่าคือ ประเทศจีน
ที่มาของข่าว ; http://m.posttoday.com/articlestory.php?id=138581
นายโมเช ยาลอน รองนายกฯ อิสราเอลแถลงว่า "พลจัดวา กอเซ็ม สุเลย์มานี" ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์(Quds) สังกัดกองทัพปฏิวัติอิหร่านเป็นผู้สั่งการให้ปฏิบัติการระเบิด ใน 3 ประเทศ คือ จอร์เจีย,อินเดีย(วันที่ 13) ไทย(วันที่ 14-แต่วันปฏิบัติการจริงน่าจะเป็นวันที่ 15 ที่นายกฯ อิสราเอลมาไทย แต่พลาดเกิดระเบิดเสียก่อน) เพราะระเบิดทั้งสามแห่งมาจากห้องทดลองเดียวกัน โรงงานเดียวกัน รูปแบบการปฏิบัติการก็เหมือนกัน
ที่มาของข่าว ; http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000022671
นักวิเคราะห์ทางทหารของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงการที่ปรากฎข่าวอิสราเอลจะส่งฝูงบินไปถล่มโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านว่า "เป็นไปได้ยาก" เพราะจะต้องส่งฝูงบินขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 ลำ บินผ่านประเทศที่ไม่เป็นมิตรเป็นระยะทางมากกว่า 1,000 กม. ต้องมีการเติมน้ำมันกลางอากาศ และเป็นไปได้ยากที่จะทิ้งระเบิดลงไปเจาะทำลายโรงงานนิวเคลียร์ที่ซ่อนอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินที่ลึกกว่า 30 ฟุต
22 ก.พ.2555 ชีอะฮ์ไทย แก้ต่างแทนอิหร่าน เหตุระเบิดอาจเป็นการสร้างสถานการณ์
ที่มาของข่าว ;
http://www.komchadluek.net/detail/20120222/123592/SEJEALไม่ใช่กำหนดจุดก่อการร้าย.html
สรุป ; ใครสั่งทำ - ทำเพื่ออะไร ชี้ออกไปได้สองแนวทาง คือ
1. ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคูดส์ เพื่อสังหารนักการฑูตอิสราเอล (ตามคำแถลงของนายโมเช ยาลอน รองนายกฯ อิสราเอล
2. ฝ่ายอิสราเอลสั่ง "MKO" ทำ เพื่อสร้างสถานการณ์(ตามคำให้สัมภาษณ์ของ ผู้นำนิกายชีอะฮ์ในไทย และ คำปฏิเสธของอิหร่าน)
ซึ่งทั้งสองแนวทาง พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า "เป็นเพียงการตอบโต้กันทางสื่อมวลชนเท่านั้น"
"ยุทธศักดิ์-สุกำพล"ไม่ฟันธง"เอ็มเคโอ"บึ้มกลางกรุง ชี้ไร้หลักฐาน แต่ผู้นำมุสลิมชีอะห์ในไทยเชิ่อใช่แน่
|
ที่มา ; http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1329882417&grpid=00&catid=&subcatid=
หน่วยรบพิเศษคุดส์(Quds)
หน่วยรบพิเศษคุดส์ ซึ่งรองนายกฯอิสราเอลกล่าวหาว่า อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุระเบิด ก่อตั้งขึ้นเมื่อคราวเกิดสงครามอิรัก - อิหร่าน มีกำลังพลราว 15,000 นาย มีนายพลจัตวา กอเซ็ม สุเลย์มานี เป็นผู้บัญชาการ การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีอิหร่านแต่เพียงผู้เดียว
มีสายลับกระจายไปปฏิบัติการตามประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศ แม้แต่ในไทยเองก็คาดว่าเข้ามาฝังตัวอยู่นานแล้ว
แต่ยังไม่ปฏิบัติการใดๆ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ปณิธาน วัฒนายากร
อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ได้แนะนำให้รัฐควรประสานงานกับนานาชาติ เกี่ยวกับความร่วมมือสกัดกั้นบุคคลต้องสงสัยนับแต่ขึ้นตอนการเดินทางเข้ามาในประเทศ
โดยบุคคลเหล่านี้คุ้ยเคยประเทศไทยเป็นอย่างดี และมีเครือข่ายในพื้นที่ด้วย
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่เป็นการยากเลย
เพราะหน่วยข่าวกรองของต่างประเทศ ไม่ว่าอิสราเอล หรือ สหรัฐอเมริกา
ก็มีข้อมูลบุคคลเหล่านี้อยู่แล้ว และพยายามแจ้งเตือนล่วงหน้าแล้วด้วย
แต่รัฐพยายามปิดข่าวด้วยเกรงกระทบด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ แล้วทำงานอย่างเงียบๆ
แต่ก็ล้มเหลวในการติดตามค้นหา ซึ่งหากกลุ่มผู้ปฏิบัติการไม่ประกอบระเบิดพลาดเอง
และสามารถสังหารบุคคลฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ คงเป็นหนังยาวเหมือนกรณีสังหารฑูตซาอุฯ
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริการายงานว่า ภารกิจของหน่วยรบพิเศษคุดส์
มีทั้งทางยุทธวิธีและด้านข่าวกรอง ได้แก่ ปฏิบัติการทางทหารในสนามรบ
, รวบรวมข้อมูลกำหนดเป้าหมายวางแผนการโจมตีสถานที่หรือบุคคลสำคัญ , ฝึกกลุ่มผู้ปฏิบัติการหัวรุนแรง
, ติดต่อประสานงานการเคลื่อนไหวของสายลับใต้ดิน , ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย
,
วีดีโอการฝึกของหน่วยรบพิเศษคุดส์
ความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน - อิสราเอล
อิหร่าน และ อิสราเอล ไม่มีพรมแดนประชิดติดต่อกันจึงไม่มีความขัดแยังในเรื่องพรมแดนหรือลักธิการเมือง ความขัดแย้งมาจากเรื่องศาสนาและเชื้อชาติ ซึ่งอิสราเอลเป็นประเทศคริสต์ ตั้งอยู่ในแวดวงของประเทศอิสลามถึง 6 ประเทศบวกเข้ากับปาเลสไตน์เข้าไปอีก จึงเกิดความขัดแย้งกันตลอดมา ผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกาเข้าไปหนุนหลังอิสราเอลในลักษณะคล้ายกับว่าเป็นตัวแทนเข้าไปสร้างอิทธิพลในภูมิภาค จึงเป็นที่หวาดระแวงกระทบกระทั่งกันตลอดมา
ความขัดแย้งชัดเจนเมื่ออิหร่านเริ่มพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งอิสราเอลถือว่าเป็นภัยอันตราย จึงพยายามทักท้วงตลอดมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ของอิหร่านถูกลอบสังหารในเวลาไล่เลี่ยกันถึง 4 คน ตามมาด้วยเหตุการณ์ระเบิดนักการฑูตอิสราเอลใน 3 ประเทศรวมไทยด้วย แนวโน้มการใช้กำลังทางทหารต่อกันจึงเริ่มถูกนำมากล่าวถึง
เปรียบเทียบแสนยานุภาพทางทหารอิหร่าน - อิสราเอล
ลำดับแสนยานุภาพของกองทัพ ; อิหร่าน ลำดับที่ 12 / อิสราเอล ลำดับที่ 10
กำลังพล ; อิหร่าน ประชากร 70 กว่าล้านคน มีกำลังทหาร 5 แสนกว่านาย / อิสราเอล มีกำลังทหาร 2 แสนนาย แต่ประชาชนอิสราเอลทั้ง 6 กว่าล้านคนเป็นกำลังสำรองพร้อมรบทุกคน
เครื่องบินทางทหาร ; อิหร่าน จำนวน 1030 ลำ / อิสราเอล จำนวน 1964 ลำ แต่ ด้านเครื่องบินรบ อิหร่านมี F-5 และ F-14 ของสหรัฐฯ(ตอนซื้อความสัมพันธ์ยังดีอยู่) ประมาณ 100 ลำ , มิราจของฝรั่งเศล และ มิก 29 ของรัสเซีย รวมกันประมาณ 30 ลำ นอกจากนี้เป็น F-4 โบราณรุ่นสงครามเวียดนามประมาณ 60 ลำ / อิสราเอล มีเครื่องบินรบและความสามารถของนักบินที่เหนือกว่ามาก โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ประกอบกับรูปแบบการรบทางอากาศที่เปลี่ยนไป ตัวตัดสินแพ้ชนะอยู่ที่ความทันสมัยของระบบเรดาห์และประสิทธิภาพของจรวดที่ยิงกันตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวในระยะ 100 - 200 กม.(ที่มาขับเครื่องบินไล่ยิงกันแบบในหนังนั้น หมดยุคไปแล้ว) ฝ่ายไหนระบบช่วยเหลือในเรื่องเรดาห์ดีกว่าจึงได้เปรียบ ล่าสุดอิสราเอลมีแผนบรรจุฝูงบิน F-35สเตลธ์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ทันสมัยตัวล่าสุดของสหรัฐ เข้าประจำการอีกด้วย การรบทางอากาศอิสราเอลจึงปิดประตูแพ้ทุกประตู
รถถัง ; อิหร่านประมาณ 1,700 คัน / อิสราเอล ประมาณ 3,000 กว่าคัน ทหารยานเกราะสร้างชื่อเสียงในการรบไว้อย่างมากมาย มีความชำนาญในการรบระดับต้นๆ ของโลก การรบภาคพื้นดินอิสราเอลแม้มีจำนวนทหารน้อยกว่าก็มีชาติพันธมิตรสนับสนุน จึงปิดประตูแพ้อย่างแน่นอน
เรือรบ ; อิหร่านมีเรือดำน้ำ 3 - 5 ลำ และกองเรือพิฆาต เรือฟรีเกต อีกจำนวนหนึ่ง / อิสราเอล มีเรือดำน้ำ 3 ลำ ไม่มีกองเรือรบ แต่หากเกิดการรบย่อมได้รับสนับสนุนจากสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรอย่างแน่นอน การรบทางเรือถึงแม้อิสราเอลไม่แข็งแกร่งแต่ก็ปิดประตูแพ้อย่างแน่นอน
ระบบการป้องกันทางอากาศ ; เป็นปัจจัยหนึ่งที่ชี้แพ้ชนะ เพราะทั้งสองประเทศไม่มีพรมแดนติดกัน การรบจึงต้องใช้เครื่องบินและจรวดโจมตีมาทางอากาศเป็นหลัก โดยฝ่ายรุกน่าจะเป็นอิสราเอลเพราะมีเครื่องบินที่ทันสมัยกว่า อิหร่านนำเครื่องเก่าๆ ขึ้นสกัดกั้นก็คงถูกสอยร่วงหมด ต้องใช้ระบบป้องกันทางอากาศ ร่วมกับ จรวด "SAM" และ ปตอ.เป็นหลัก ทำหน้าที่สอยเครื่องอิสราเอลที่บินเข้ามาในน่านฟ้า
ขีปนาวุธนิวเคลียร์ ; อิหร่านมีขีปนาวุธ "Taepodong" ที่ได้ไกลถึง 4,000 - 6,000 กม. /อิสราเอลมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 200 ลูก และสามารถดัดแปลงติดกับขึปนาวุธที่ยิงได้ไกลถึง 7,000 กม.
เมื่อเปรียบเทียบกำลังทางทหารแล้ว เห็นได้ว่าอิหร่านแพ้แทบทุกประตู ยุทธวิธีต่อสู้หากถูกโจมดีก็คงเป็นยุทธวิธีกองโจร โดยอาศัยเทือกเขาและถ้ำเป็นที่หลบซ่อนจากการโจมตีทางอากาศ
ขีปนาวุธ "Taepodong"
นอกจากอิหร่านเผชิญกับเครื่องบินรบของอิสราเอลแล้ว ทันทีที่การรบเกิดขึ้น กองเรือ เรือ ยูเอสเอส.อัมบราฮัมส์ ของสหรัฐฯ ต้องเข้ารุมสกรัมด้วยแน่นอน โดยขณะนี้ได้ลอยลำอยู่ในอ่าวเปอร์เซียแล้ว
ในกองเรือประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ มีเครื่องบินรบประจำการได้แก่ F-18 รุ่นต่างๆ จำนวนกว่า 85 ลำ และมีเรือพิฆาตคอยคุ้มกันอีก 2 ลำ
ที่มา ;
http://www.presstv.ir/detail/226770.html
วันนี้(23 ก.พ.2555) อิหร่านประกาศความสำเร็จในการซ้อมป้องกันภัยทางอากาศให้กับโรงงานนิวเคลียร์ในทางตอนใต้ของประเทศ อันได้แก่ฝึกประสานกันระหว่าง ระบบเรดาห์ภาคพื้นดิน และจรวดจากพื้นสู่อากาศ ที่จะสามารถทำลายอากาศยานได้ทั้งหมด รวมทั้งเครื่องบินไร้คนขับ UAVs ซึ่งมีเทคโนโลยีหลบการตรวจับของเรดาห์ได้ด้วย
เครื่องบินไร้คนขับซึ่งปฏิบัติการลาดตระเวณหรือสอดแนมได้นาน และยังสามารถติดตั้งจรวดทำลายระยะไกลได้ด้วย
ที่มา ;
http://www.dae.mi.th/aeroblog/?p=1449&lang=en-us

ภาพประกอบข่าว การพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปของอิหร่าน
วันนี้(26 ก.พ.2555) นสพ.ต่างประเทศพาดหัว ซีไอเอ. แถลง...อิหร่านยกเลิกโครงการขีปนาวุธนิวเคลียร์ไปแล้ว สรุป..อิหร่านไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ตามที่สหรรัฐฯ และ อิสราเอลสงสัย ตอนนี้เขี้ยวเล็บก็มีเพียงแค่ เครื่องบินรบเก่าที่ขึ้นบินเป็นโดนสอยร่วงๆ กับเรือพิฆาตเก่าๆ เรือดำน้ำเก่าๆ ไม่กี่ลำ คงไม่สามารถต้านทานฝูงเรือ ยูเอสเอส.อัมราฮัมส์ ของสหรัฐฯ ได้ ส่วนขีปนาวุํธข้ามทวีปคงทำอะไรไม่ได้มากเพราะต้องเจอกับระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอล หมัดเด็ดของอิหร่านน่าจะอยู่ที่กำลังทหารที่มีมากถึง 5 แสนนาย ผนวกกับภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาคล้ายอัฟกานิสถาน โดยอาศัยยุทธวิธีการรบแบบกองโจร